วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมและจริยาธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


บัญญัติ 10 ประการ
ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
                1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
                2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
                3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
                4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
                7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
                9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
                10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท 

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา 
                - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
                - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

                - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ 
                - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 
                - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง 
                 - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้าน
หนังสือทั่วๆ ไป
                - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Credit: http://blog.eduzones.com/banny/3734




ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมา


  
 1 ประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็นDARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่งDARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลักIAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่มTCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บwww.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Credit: http://guru.sanook.com/pedia/topic/อินเทอร์เน็ต_คืออะไร

อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ต คืออะไร


  


                อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP
(Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address 
ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย
 Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จากISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่าBandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

                IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือIP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Credit: http://guru.sanook.com/pedia/topic/อินเทอร์เน็ต_คืออะไร

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำคัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



ตรรกศาสตร์

                องค์ความรู้ที่กล่าวถึงความเป็นไปได้หรือความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยจริงและเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์นำมาใช้แทนค่า 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์

19.สุวภัทร  สุขหล้า
มัลติเมียเดีย   การนำเสนอข้อมูลหลายประเภทพร้อมๆกันที่สามารถนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีหลายๆชนิดประกอบกันหรือนำเสนอด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ เช่น การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในเว็บไซต์พร้อมๆกัน

20.ตรงศร  ทิมอ่วม
ไมโครชิป   สื่อบันทึกข้อมูลประเภทนึง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่

21.วริศรา   มูลงาม
รอม เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า

22.พิมพ์วิมล  เนื่องพุกก์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ  เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ

23. พุทธิดา  เลิศจิตรานนท์
ระบบสารสนเทศเพื่อประมวลผล  เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลผลรายการธุรกรรม - ข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำเพื่อสนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ

24. พิมพ์ชนก  น้อยคำ
เน็ตบุ๊ค  อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊คแต่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่า นิยมใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้สร้างชิ้นมากเหนือคอมพิวเตอร์ทั่วไป

25. คชาภรณ์   เอี่ยมสงคราม
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การกระทำความผิดทางกฏหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
อินเทอร์นัลโมเด็ม  เป็นโมเด็มทีติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ มีราคาถูก ติดตั้งและซอมแซมได้ยาก เวลาทำงานจะเกิดความร้อนซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์

26. เอมิกา  ดวงทอง
การประมวลผลแบบกลุ่ม   การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม

27. กลมวรรณ  ลัทธิ
โลกาภิวัตน์  การเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลมาจากการพัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ประชากรโลกเกิดการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว มีความหมายเหมือนกับโลกานุวัตร
เวอร์ชัน   รุ่นของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับการพัฒนาจากรุ่นเดิม โดยในเวอร์ชันของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มักจะแสดงไว้ด้ายหลังชื่อของผลิตภัณฑ์

28. ชนิสร  ม่วงศรี
ไคลเอนต์   เรียกอีกอย่างว่า เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องที่ต้องให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลและเครื่องที่สามารถประมวลผลได้เอง ปกติจะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเซิร์ฟเวอร์

29. ธัญญาลักษณ์  ทองบุญชู
คลิปวีดีโอ    ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงที่ที่เป็นเหตุการณ์จริง  ซึ่งบันทึกไว้ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กนิยมอัพโหลดไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตปัจจุบันสามารถเรียกดูได้ทั้งทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 

30. ธิธาน สุทะมา
Scanner  (สแกนเนอร์) เป็นอุปกรณ์ที่จับภาพจากเครื่องพิมพ์ภาพ (photographic print) โปสเตอร์ หน้านิตยสร และแหล่งคล้ายกันสำหรับการแก้ไขและแสดงผลของคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ มาใน hand-held, feed-in และ ประเภท flatbed และสำหรับการสแกนเฉพาะดำขาว หรือสี สแกนเนอร์ความละเอียดสูงได้รับการใช้สำหรับการสแกนสำหรับการพิมพ์ความละเอียดสูง แต่สแกนเนอร์ความละเอียดต่ำเพียงพอสำหรับการจับภาพสำหรับการแสดงผลจอภาพ ตามปกติ สแกนเนอร์มากับซอฟต์แวร์ เช่น ผลิตภัณฑ์Adobe Photoshop ที่ให้ปรับขนาดและการปรับปรุงอื่นกับภาพที่จับมาตามปกติ สแกนเนอร์แนบติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับ Small Computer System Interface (SCSI) การประยุกต์ เช่นPhotoshop ใช้โปรแกรม TWAIN อ่านภาพ

31. นภัสสร  สิงห์เดช
อินเตอร์เน็ตคาเฟ่  ร้านที่ให้บริการเช่าคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอรืเน็ตโดยคิดค่าบริการเป็นนาทีหรือชั่วโมง ปัจจุบันนิยมบริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับเกมประเภทที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
อีเบย์   เว็บไซต์ที่ให้บริการโพสต์ (Post) และเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ shopping Mall โดยผู้ซื้อและผู้จำหน่ายจะต้องสมัครเป็นสามชิกจึงจะสามารถใช้บริการได้

32. ปาริฉัตร จันทร์กระแจะ
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบและความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

33. ภนิดา  แบ่งปัน
รอม  เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศหรือคำสั่งเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและคำสั่งนั้น จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถลบหรือแก้ไขด้วยวิธีการปกติ และจะคงอยู่ถึงแม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้า

34. รัตติกาล  ไชยสุข
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  นิยมเรียกว่า อีเมล (E-mail) เป็นรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  โดยผู้ส่งจะต้องมีที่อยู่หรือแอดเดรส (Address)

35. ลัดดา  บุญลือ
ผู้เชี่ยวชาญ   ผู้ชำนาญการหรือผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะสาขาของตนเอง

36. วรางคณา  สุขรวย
สารสื่อสารไร้พรมแดน  ความหมาย ระบบการติดต่อสื่อสารที่ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ทุกเวลาทุกสถานที่

37. ศจี  ตาแสงทอง
การประมวลผล  การจัดการข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดสารสนเทศ เช่น การเปรียบเทียบ การคำนวณ การสรุป

38. สุรัตนา  เจาะดำ
ซอฟต์แวร์ระบบ   โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อให้องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้

39. หทัยกาญจน์  มีสวนทอง
พระราชบัญญัติ   กฎหมายที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น

1. พิทักษ์  พูลทอง

2. ภานุวัฒน์  วงษ์ใส
ไฟล์ข้อมูล  รูปแบบของข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ ได้จากลักษณะของไอคอนและนามสกุลของไฟล์ข้อมูล

3. จิตรกร  ปาสำลี
อัพโหลด  การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปเก็บรักษาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์สำหลับถ่ายโอนข้อมูลโดยเฉพาะ

4. วิริทธิ์พล   โกศล
มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดิทัศน์
             มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์(Interactive Multimedia)
             มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน  ภาพ กราฟฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น
             ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย  คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)   การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง  สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย ชาน่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

5. สิริชัย  สุขสาด
อาชญากรคอมพิวเตอร์  ผู้กระทำความผิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้คือ มือสมัครเล่น (Amateur) ซึ่งจะกระทำความผิดเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น แครกเกอร์ (Cracker) ที่เป็นผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และอาชญากรมืออาชีพ (Career Criminals) ที่มีความรู้ทางเทคนิคค่อนข้างสูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น

6. ชลกร  คุ้มสุข
เครือข่ายแลน   เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ๆมีพื้นที่จำกัดไม่เกิน 100 กิโลเมตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ

7. ยศนิธิ  มาใหญ่
เครือข่ายแลน    เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในระยะทางใกล้ ๆ มีพื้นที่จำกัดไม่เกิน   10  กิโลเมตร  โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และใช้ข้อมูลหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในกลุ่มเล็ก ๆ  หรือในองค์กรเดียวกัน                     
เชิร์ฟเวอร์   นิยมเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน

8. ธรรมนิตย์  คัชมาตย์
คำศัพท์   เอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc

9. พงศกร  ทับนาค
เครือข่ายแมน  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างท้องถิ่นหรือสำนักงานที่มีอาคารหรือสำนักงานอยู่ในหลายพื้นที่แต่อยู่ในประเทศหรือเมืองเดียวกันโดยมุ่งเน้นการใช้งานร่วมกันเฉพาะกลุ่มไม่เปิดบริการให้ใช้แบบสาธารณะจึงมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายค่อนข้างสูง

10. สุรดิษ  แจ่มแจ้ง
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการกับข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เท็กซ์มักมีนามสกุล txt  และ doc

11. อรรถพล  เจือจันทร์

12. กิตติพงษ์  มานุ่ม

13. ชนินทร์  ชวาลกิจ
จานแม่เหล็ก    มีลักษณะเป็นวงกลม แบน และเครือบผิวด้วยไอออนออกไซดทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจนมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ข้อมูลดิจิทัล ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้

14. ธัญญ  พิชัยช่วง
Computer Network  ระบบเครือข่ายการเชื่อมต่อเส้นทางการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นทอดๆ ซึ่งอาจเป็นระบบเครือข่ายแบบปิด คือ การให้บริการเชื่อมต่อเฉพาะสมาชิกเท่านั้น หรือระบบเครือข่ายแบบเปิด อันหมายถึง การเปิดกว้างให้ผู้ใดก็ได้ใช้บริการในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายหรือติดต่อ สื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น 

15. รวิสุทธิ์  กลิ่นหอม
คอมพิวเตอร์แบบพกพา   คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และส่งเสริมการทำงานด้วยระบบเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อส่งเสริมการใช้งานแบบอิสระไม่นิยมติดตั้งไว้ในสถานที่เดียวเหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

16. สาธิต  ทนปั่น
เคอร์เซอร์  ตัวชี้ตำแหน่งที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน โดยปกติจะมีรูปแบบเป็นหัวลูกศร สำหรับชี้ตำแหน่งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเคอร์เซอร์ในโปรแกรมประมวลผลจะมีลักษณะคล้ายตัวไอ (I) ในภาษอังกฤษ เพื่อแสดงตำแหน่งที่พิมพ์

17. ณัฏฐาภรณ์  เกตุนามวงศ์
เท็กซ์ไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  หรือข้อมูลตัวอักษรที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้นำกลับมาแก้ไขหรือจัดการเก็บข้อมูลนั้นๆได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท็กซ์ไฟล์มักมีนามสกุล .txt และ .doc